Three Kingdoms – Learning from the Two Fallen Kingdoms

จบละ สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่มที่ 3 … สนุกสนานมากมายครับ

เล่มที่ 1 สามารถอ่านเกร็ดเล็กน้อย ได้ที่นี่ครับ

เล่มที่ 2 สามารถอ่านเกี่ยวกับพัฒนาการของตัวละคร ได้ที่นี่ครับ

เล่มนี้ได้บทเรียนที่น่าสนใจมาไม่น้อย เนื่องจากเป็นการล่มสลายของสองก๊ก คือ เสฉวน ของเล่าปี่ (จริง ๆ ก็ของ เล่าเสี้ยน) และกังตั๋ง ของซุนกวน (ของ ซุนโฮ ตอนล่ม)

Three Kingdoms
Three Kingdoms (Book Three)

บทเรียนจากการล่มสลายของสองก๊ก

สองก๊กนี้ มีบางอย่างที่คล้ายกันตอนล่ม คือ

1) ผู้นำรุ่นหลัง มันไม่ได้เรื่องจริง ๆ ติดเหล้า เคล้านารี ตามที่มีคำประจบของขันทีชั่ว … เท่านี้จริง ๆ นะ เจ้าขันที ก็เห็นแก่เงิน โลภ เห็นแก่ความสุข ความสบาย … ภัยมาถึงตัวอยู่แล้ว ก็ไม่สนใจ … สุดท้าย เสียเมือง หมดบุญ

2) ผู้ใหญ่ กุนซือ ผู้มีความสามารถ มีปัญญา มีความจงรักภักดี ทำงานทุ่มสุดความสามารถแค่ไหน ถ้าเบอร์หนึ่ง จ้าวก๊ก เจ้าเมือง มันห่วย หูเบา ฟังคนใกล้ชิด ยังไงองค์กร หรือ บ้านเมืองก็ไปไม่รอด

3) เล่มนี้ ถ้าจะไม่พูดถึง ขงเบ้ง ก็จะกระไรอยู่ ที่จะขอชื่นชม ก็เรื่องความซื่อสัตย์ ความภักดี ที่มีต่อเล่าปี่ ในเรื่องการสืบสานปณิธาน ทำงานการให้เสร็จสิ้น … ยากลำบากแค่ไหน ไม่มีท้อ เดินทัพไปเขากิสาน แสนเข็ญเหลือประมาณ ทแกล้วทหารหมดสิ้นเท่าไร ก็ยังไม่ราเลิก … ไปห้าหกครั้ง พังทุกครั้ง ด้วยหลากหลายเหตุผล ต่างกันไป แต่เพราะปณิธาน และเป้าหมายที่ตั้งไว้ ก็จะทำให้ได้ … อันนี้ ความตั้งใจแบบนี้ ขอยกย่อง

4) ขงเบ้ง วางแผน มองไกล เห็นได้ตั้งแต่ การมองคน ใครจะทำหน้าที่อะไร วางหมาก วางตัวระยะยาว สองช็อต สามช็อต … ใครสัตย์ซื่อ ใครไม่ซื่อสัตย์ จัดการเรียบร้อย สั่งเสียให้ไว้ … จนตัวตาย

5) อีกเรื่อง ก่อนไป ต้องฝากเตือนใจ ให้เป็นบทเรียน … เล่าเสี้ยน พ่ายแพ้ มาอยู่กับสุมาเจียว ผู้ถามระหว่างการเสพย์สุราและดูนางรำว่า คิดถึงบ้านเมืองตัวเองที่เสฉวนมั๊ย … เล่าเสี้ยนตอบว่า ไม่เลย อยู่นี่สนุกดี สบายดี … คนเป็นจ้าว เป็นหัว ยังไม่คิดถึงบ้านเมือง แล้วขุนนาง ลูกน้องจะรู้สึกกันยังไง … speechless

ไม่แปลกใจเลยนะว่า ทำไมหลายคน อ่านสามก๊กแล้ว ได้เรียนรู้อะไรเยอะแยะเลย ยิ่งถ้ามีเวลาหน่อยนะ อ่านไป วิเคราะห์ตาม น่าจะได้ข้อคิด แนวคิดมาไม่น้อย

ไปละครับ … สวัสดี